ที่เที่ยวทั่วไป

5 สิ่งที่คุณอาจไม่รู้เกี่ยวกับการบูรณะ มหาวิหารน็อทร์ -ดามแห่งปารีส

หากคุณไปเยือน มหาวิหารน็อทร์ -ดามแห่งปารีสในช่วงนี้ คงจะได้เห็นพื้นที่ปิดบูรณะเนื่องจากสถานที่สำคัญซึ่งได้รับเสียหายหลังจากไฟไหม้ในเดือนเมษายน 2019 ต่อเนื่องมา อีกทั้งสารคดีวิทยาศาสตร์ “Saving Notre Dame” ยังได้เปิดเผยถึงข้อเท็จจริงอันน่าสนใจเมื่อเร็วๆ เกี่ยวกับการซ่อมแซมมหาวิหารอันเก่าแก่ซึ่งนับว่าเป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมสำคัญแห่งหนึ่งของกรุงปารีส มาเฉลยให้นักท่องเที่ยวได้กระจ่างว่ากว่าจะเป็นพื้นที่อันงดงามดังเดิมได้นั้นต้องซ่อมจุดไหนแบบใดบ้าง

  1. ทีมช่างบูรณะต้องสวมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายเต็มรูปแบบ

คนงานในสถานที่ต้องสวมเครื่องแบบที่ประกอบด้วยอุปกรณ์ป้องกันเต็มรูปแบบ และหลังจากเสร็จสิ้นพวกเขาก็ถอดเสื้อผ้าและอาบน้ำทุกครั้งที่ออกจากพื้นที่ทันที ไม่ใช่เพราะ COVID-19 แต่เกิดจากฝุ่นตะกั่วที่เป็นพิษซึ่งกระจายไปทั่วพื้นที่อันเป็นผลมาจากไฟไหม้ ไฟได้ละลายตะกั่ว 440 ตันภายในหลังคาอายุ 850 ปีซึ่งนำไปสู่การแพร่กระจายของเถ้าสารพิษ จึงต้องมีการทำความสะอาดเสมอ

มหาวิหารน็อทร์ -ดามแห่งปารีส
  1. ผู้เชี่ยวชาญด้านแก้วใช้สำลีก้านทีละอันเพื่อเช็ดสารตะกั่วออกจากหน้าต่างกระจกสีเปราะบาง

จากสารคดีได้แสดงให้เห็นว่า Claudine Loisel นักวิทยาศาสตร์ด้านแก้ว ได้รับมอบหมายให้บูรณะกระจกสีของมหาวิหาร โดยยังมีผลงานกระจกสีซึ่งยังคงสภาพสมบูรณ์หลังจากเกิดเพลิงไหม้ แต่อาจมีผลกระทบจากความร้อนซึ่งก่อให้เกิดรอยแตกขนาดเล็กในบางแผ่น พวกเขาทำการกำจัดสิ่งปนเปื้อนด้วยเครื่องดูดฝุ่น จากนั้นใช้ก้านสำลีและน้ำกลั่นเช็ดอย่างระมัดระวังทีละแผ่น นอกจากนั้นทีมช่างยังได้คิดค้นการใช้เอกซเรย์สเปกโทรสโกปีแบบใหม่เพื่อกำหนดจำนวนผ้าเช็ดทำความสะอาดแบบอ่อนโยนที่ต้องใช้ในการยกตะกั่วออกจากกระจกโดยไม่ทำให้ลายสีเสียหาย 

  1. โครงนั่งร้านกว่า 550 ตัน ถูกนำมาใช้ในสถานที่บูรณะ

ได้มีการติดตั้งโครงนั่งร้านประมาณ 550 ตันในพื้นที่บูรณะ แต่ก่อนหน้านี้ก็ยังมี “ซาก” นั่งร้านเดิมซึ่งโดนไฟไหม้ไปก่อนแล้วเพราะมหาวิหารแห่งนี้มีการบูรณะมาเรื่อยๆ โดยความร้อนสูงจากเพลิงไหม้ทำให้นั่งร้านเดิมถูกหลอมเหลวและรวมเข้ากับตัวอาคารจนสร้างปัญหาแก่ทีมช่างในปัจจุบัน ทีมช่างได้พยายามแก้ไขไปกว่า 200 ตันแล้ว ซึ่งเป็นงานที่อาศัยความพยายามอย่างมาก

มหาวิหารน็อทร์ -ดามแห่งปารีส
  1. นักธรณีวิทยาเดินทางลึกเข้าไปในถ้ำใต้ปารีสเพื่อค้นหาหินที่ตรงกับของเดิม

เพื่อให้องค์ประกอบทุกส่วนของมหาวิหารถูกต้องตามแบบดั้งเดิม ทีมบูรณะจึงไม่ต้องใช้ความพยายามในการค้นหาวัสดุที่ถูกต้อง โดยจะต้องนำหินปูนที่มีคุณสมบัติเหมือนกันกับผนังเก่าแก่หลายศตวรรษมาใช้ และสกัดอย่างประณีต นักธรณีวิทยา Lise Leroux ได้ทำการศึกษาหินเพื่อหาต้นกำเนิดซึ่งเธอสามารถจับคู่ฟอสซิลขนาดเล็กที่พบในมหาวิหารได้ จนนำไปสู่เหมืองแร่ใต้ปารีสซึ่งปัจจุบันรู้จักกันในชื่อสุสานใต้ดิน 

  1. มีการสร้างภาพดิจิตัล 3 มิติของมหาวิหารน็อทร์-ดามอย่างสมบูรณ์

ในช่วงชีวิตเรายากนักที่จะได้เห็นมหาวิหารนี้สมบูรณ์จริงๆ เพราะว่าจะมีการบูรณะเล็กๆ น้อยๆ อยู่ตลอดเวลาตั้งแต่ก่อนเพลิงไหม้ ทว่าการบูรณะมหาวิหารในครั้งนี้ทีมงานได้ใช้เทคโนโลยีแผนที่ดิจิตัล 3 มิติ เพื่อจำลองโครงสร้างอันสมบูรณ์ โดย Rémi Fromont ได้สร้างสแกนโครงสร้างหลังคาที่ซับซ้อนออกมา นอกจากนั้นทีมบูรณะยังทำแบบจำลองเพิ่มเติมจนครบถ้วน ทำให้เราได้เห็นภาพมหาวิหารอย่างที่เคยเป็นโดยแท้จริง 

ในช่วงเวลาการบูรณะมหาวิหารน็อทร์-ดามอันงดงามนี้ เชื่อว่าหลายคนก็รอลุ้นใจจดใจจ่อไม่น้อยว่าทีมช่างจะสามารถเนรมิตให้กลับมางดงามดังเช่นในประวัติศาสตร์ได้เพียงไหน ซึ่งคิดว่าภายในเร็วๆ นี้เราคงได้เห็นมหาวิหารกลับมาเป็นจุดหมายปลายทางมาเยือนของกรุงปารีสอีกครั้งแน่นอน

หากคุณไม่อยากพลาดข้อมูล ที่เที่ยวทะเล หรือ พาส่อง คาเฟ่ย่านประชาชื่น คาเฟ่ที่น่าไปเช็คอินมากๆ คนชอบเที่ยวคาเฟ่ห้ามพลาด อย่าลืมติดตามได้เพิ่มเติมอีกที่ somewhere-in-the-middle.com

หรือถ้าหากใครที่อยากเปิดประสบการณ์ใหม่ๆที่นอกเหนือไปจากการออกเดินทางท่องเที่ยวแล้วนั้น สูตรสแกนสล็อต นั้นก็เป็นอีกหนึ่งในช่องทางที่พลาดไม่ได้เช่นเดียวกัน

Back To Top