ในยุคเฟื้องฟูของอาณาจักรขอม หรือจักรวรรดิเขมร ได้มีสร้างศิลปวัตถุและสิ่งก่อสร้างต่างๆ จนกลายเป็นแหล่งอารยธรรมที่สำคัญในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถึงแม้ว่าจะผ่านพ้นมาเป็นเวลานานกว่าหลายร้อยปีจนกลายมาเป็นประเทศกัมพูชาอย่างในปัจจุบัน ก็ยังมีการค้นพบศิลปวัตถุและสิ่งก่อสร้างที่ยังหลงเหลืออยู่ และหนึ่งในโบราณสถานที่มีความสำคัญและได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยว คือ เป็น ปราสาทตาพรหม (Prasat Ta Prohm) “ปราสาทตาพรหม” อีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวของกัมพูชา ปราสาทตาพรหมเป็นปราสาทหินแบบบายนที่สร้างขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1186 ซึ่งเป็นช่วงสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 โดยถูกสร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้กับพระมารดาและเป็นพุทธศาสนสถานให้กับประชาชนได้เคารพสักการะ ปัจจุบันตั้งอยู่ที่เมืองเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา และยังได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลกจาก UNESCO ในปี ค.ศ. 1992 อีกด้วย ลักษณะทางกายภาพของตัวปราสาท คือ เป็นปราสาทที่สร้างจากหินจำนวนมหาศาลและมีการสลักภาพในเชิงธรรมะของพระพุทธศาสนา นิยายมหายาน ในปัจจุบันมีต้นไม้ใหญ่อย่างต้นสะปง (ต้นสำโรง) เจริญเติบโตจนทับตัวปราสาทขึ้นไป แต่ในขณะเดียวกันก็ถือว่าเป็นการช่วยพยุงตัวปราสาทไม่ให้พังทลายลงมาอีกด้วย สิ่งที่พิเศษและผู้คนต่างให้ความสนใจสำหรับปราสาทตาพรหม นั่นก็คือ มีภาพสลักคล้ายไดโนเสาร์ พันธุ์ไทรเซราทอปส์ (Triceratops) ผสมกับพันธุ์สเตโกซอรัส (Stegosaurus) อยู่บนเสากรอบประตูของโคปุระชั้นที่ 3 ด้านทิศตะวันตก ในบริเวณหน้าบันถัดจากปรางค์ประธาน ซึ่งพื้นที่ในบริเวณดังกล่าว เต็มไปด้วยภาพสลักเกี่ยวกับเรื่องราวของรามเกียรติ์ในตอนที่มีการขับไล่พระลักษณ์ พระราม และนางสีดาออกจากเมือง จึงเกิดการตั้งคำถามจากนักท่องเที่ยวและนักวิชาการเป็นจำนวนมาก เกี่ยวกับที่มาของภาพสลักที่คล้ายกับไดโนเสาร์ดังกล่าว เนื่องจากในยุคสมัยที่มีการก่อสร้างปราสาทตาพรหมนั้น […]